"อินเดีย" เผชิญคลื่นความร้อนแผดเผาจนเสียชีวิต

คลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมอินเดีย ส่งผลทำให้หลายภูมิภาคเผชิญกับอุณหภูมิสูง 45.6 องศาเซลเซียล ขณะเดียวกันคลื่นความร้อนนี้ได้ขยายตัวไปยังพื้นที่ต่างๆ เช่นเมืองมุมไบ ในรัฐมหาราษฏระ เมืองตากอากาศในรัฐทมิฬนาฑู และพื้นที่บางส่วนของรัฐเกรละ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เมื่อวานนี้ (29 เม.ย.) สื่อท้องถิ่นของอินเดียรายงานว่า ในรัฐเกรละ อุณหภูมิในพื้นที่ที่พุ่งสูงขึ้นถึง 41.9 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าปกติเกือบ 5.5 องศาเซลเซียส

ส่งผลให้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่นั่นมีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นหญิงวัย 90 ปี และชายวัย 53 ปี ซึ่งคาดว่าทั้งสองเสียชีวิตจากโรคลมแดด เจ้าหน้าที่จัดการภัยพิบัติของรัฐเกรละระบุว่า สภาพอากาศร้อนจัด ส่งผลทำให้มีผู้คนล้มป่วยประมาณ 450 คน และมีรายงานจากสื่อว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่ได้มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ

ส่วนที่รัฐทมิฬนาฑู ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับรัฐเกรละ ก็เผชิญกับสภาพอากาศร้อนเช่นเดียวกัน โดยที่เมืองเจนไน นักการเมืองท้องถิ่นได้แจกผลไม้สด มะพร้าว และเครื่องดื่มเย็นๆให้กับผู้คนเพื่อดับร้อน

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของอินเดียคาดการณ์ว่า บริเวณพื้นที่ทางตะวันออก และตอนใต้ของอินเดียจะเผชิญคลื่นความร้อนรุนแรงต่อไปอีก 5 วัน โดยเฉพาะรัฐเกรละ คาดการณ์ว่าอุณหภูมิทั่วพื้นที่จะสูงกว่าปกติ ส่งผลให้ทางการออกคำเตือน โดยขอให้ประชาชนระมัดระวังสภาพอากาศร้อน เช่นให้อยู่ในบ้าน หรือพื้นที่ในร่ม ฝากฝั่งของเมียนมา เมื่อวานนี้มีรายงานว่า ที่นั่นเผชิญกับเดือนเม.ย.ที่ร้อนที่สุด นับตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติเมื่อ 56 ปีที่แล้ว โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาสามารถตรวจวัดอุณหภูมิได้สูงสุดอยู่ที่ 48.2 องศาเซลเซียส ที่เมืองเซาะ (Chauk) ภูมิภาคมะเกว ทางตอนกลางของเมียนมา และในวันเดียวกัน ที่ย่างกุ้งมีอุณหภูมิสูง 40 องศาเซลเซียส ส่วนที่เมืองมัณฑะเลย์เผชิญอุณหภูมิสูงถึง 44 องศาเซลเซียส

ส่วนของประเทศไทยวันนี้ (30 เม.ย.) กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า ทั่วประเทศยังมีอากาศร้อนจัด และมีอุณหภูมิสูงสุด 44 องศาเซลเซียส โดยกรุงเทพและปริมณฑลมีอุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิสูงสุด 40-44 องศาเซลเซียส

สภาพอากาศที่ร้อนจัดในประเทศไทย ส่งผลให้ผู้คนได้รับผลกระทบจำนวนมาก หลายคนต้องหาวิธีคลายร้อนโดยการฉีดน้ำที่ผ้าใบกันแดด ส่วนผู้สูงอายุอย่างนักร้อง ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตารายนี้ก็รู้สึกไม่สบายตัว

ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย มีรายงานพบผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดแล้ว 30 คน ขณะที่ทางการประกาศแจ้งเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเศน์ทางทะเลซึ่งไปสำรวจสภาพหญ้สทะเลที่เกาะกระดาดได้เผยแพร่ภาพและข้อทูลที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่ง โดยระบุว่า สภาะโลกร้อนทำให้ทะเลแปรปรวนถึงขีดสุด แหล่งหญ้าทะเลกว่า 810 ไร่ที่เกาะกระดาด ซึ่งเคยใหญ่สุดในแนวปะการังภาคตะวันออก หายไปจนหมดใน 5 ปี โดยมีพร้อมวัดอุณหภูมิน้ำทะเลในขณะที่ทำการสำรวจและพบว่า สูงแตะ 40 องศาเซลเซียส แหล่งหญ้าทะเลดังกล่าวเป็นแหล่งที่ใหญ่สุดในแนวปะการังภาคตะวันออก ที่นี่เป็นพื้นที่อนุบาลสัตว์ทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่ของปลาเกือบ 30 ชนิด แหล่งหญ้วทะเลดังกล่างยังช่วยดูดซับหรือกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่เป็นตัวการทำให้เกิดโลกร้อนด้วย การหายไปของแหล่งหญ้าทะเลนี้จึงจะเกิดปัญหาใหญ่มาก

นอกจากประเทศไทย เมียนมา และอินเดีย ที่เผชิญอากาศร้อนจัดแล้ว อีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ อย่างฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ ก็เจอคลื่นความร้อนรุนแรงจนต้องสั่งงดการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่นเดียวกับจีน ที่เผชิญพายุทอร์นาโดรุนแรงพัดถล่มจนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง คำถามสำคัญคือ ทำไมเอเชีย จึงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด

รายงานล่าสุดจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า เอเชียได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด เพราะเกิดภัยพิบัติที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจำนวนมาก โดยปี 2023 ในเอเชียมีรายงานเกิดภัยพิบัติทั้งหมด 79 ครั้ง โดยในจำนวนนี้มากกว่าร้อยละ 80 เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติน้ำท่วมและพายุรุนแรง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 ราย และอีก 9 ล้านคนได้รับผลกระทบโดยตรง และแม้ว่าความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้คนจะเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศร้อนจัด แต่ไม่ได้มีการรายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้เสียชีวิต

นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้วหลายประเทศในเอเชียยังเผชิญกับปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้ว ตั้งแต่ภัยแล้ง คลื่นความร้อน ไปจนถึงน้ำท่วม และพายุโดยอุณหภูมิใกล้ผิวโลกเฉลี่ยของเอเชียสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่อันดับ 2 มากกว่าค่าเฉลี่ยในปี 1991-2020 อยู่ 0.91 องศาเซลเซียส และสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปี 1961-1990 อยู่ 1.87 องศาเซลเซียส นี่แสดงให้เห็นว่าเอเชียร้อนขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และนับตั้งแต่ปี 1961-1990 แนวโน้มภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า

เช่นเดียวกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้แต่มหาสมุทรอาร์กติกก็ประสบปัญหาคลื่นความร้อนในทะเล ขณะที่หลายพื้นที่ของภูมิภาคต่างๆ ซึ่งรวมถึงทะเลอาหรับ ทะเลคารา ทางตอนใต้ และทะเลลัปเตฟ ทางตะวันออกเฉียงใต้ พื้นผิวทะเลกำลังอุ่นขึ้นเร็วกว่าทั่วโลกถึงสามเท่า

ส่วนแรงหนุนจากการขยายตัวตามความร้อนและการละลายของธารน้ำแข็ง ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าช่วงปี 1993-2023 เอเชีย มีอัตราดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโล ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลภัยพิบัติจากสภาพอากาศ ภูมิอากาศ และภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากน้ำล่าสุด ทำให้เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติมากที่สุดในโลก นอกเหนือจากเอเชียที่เผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วแล้ว ที่แอฟริกา อย่างเคนยาก็เผชิญกับภัยพิบัติน้ำท่วม และฝนที่ตกหนักระลอกล่าสุดได้ซ้ำเติมสถานการณ์ในประเทศให้เลวร้ายลงอีก

ภาพของซากรถบรรทุกที่ถูกน้ำพัดเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยรถบรรทุกคันนี้ได้บรรทุกชาวบ้านกลุ่มใหญ่เพื่ออพยพหนีน้ำท่วมจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเคนยาไปยังสถานที่ปลอดภัย แต่ระหว่างเดินทางรถบรรทุกได้ถูกกระแสน้ำพัดกะทันหันและหายไปในพริบตา

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุครั้งนี้ได้ 11 คน และพบร่างผู้เสียชีวิต 7 ราย ในเมืองสุลต่าน ฮามุด ทางตะวันตกของเคนยา แต่ยังไม่ได้สรุปจำนวนผู้เสียชีวิต

ส่วนเมืองไม มาฮิว ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของเคนยา และอยู่ห่างจากกรุงไนโรบี เมืองหลวงเคนยาประมาณ 60 กิโลเมตร เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 เม.ย.) มีรายงานว่า ที่นั่นเกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่ม หนึ่งในผู้รอดชีวิตเล่าว่า ตอนเกิดเหตุเธอได้เปิดประตูห้องอาหาร จากนั้นน้ำก็ทะลักเข้าไปในบ้านอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ไม่กี่ชั่วโมงหลังปริมาณฝนลดลงและระดับน้ำท่วมเริ่มลดลง ชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้าไปสำรวจและเก็บข้าวของของตัวเองออกจากดินโคลน และค้นหาบุคคลอันเป็นที่รักที่หายไป ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บก็พักฟื้นที่โรงพยาบาลท้องถิ่นคำพูดจาก สล็อต777

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 110 ราย เบื้องต้นตำรวจระบุว่า

สาเหตุน้ำท่วมมาจากเขื่อนแตก แต่ในเวลาต่อมากระทรวงน้ำของเคนยาระบุว่า สาเหตุมาจากอุโมงค์แม่น้ำใต้เขื่อนกั้นทางรถไฟมีเศษซากปิดกั้น

นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่ากังวลอีกหนึ่งประเด็น คือ เขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำโฆษกรัฐบาลเคนยาระบุว่า เขื่อนประเภทดังกล่าวได้ดำเนินเครื่องเต็มกำลังการผลิตแล้ว และนี่อาจทำให้เกิดน้ำล้นบริเวณพื้นที่ท้ายน้ำขนาดใหญ่

ทั้งนี้ ภัยพิบัติน้ำท่วมล่าสุดที่เกิดขึ้นได้ซ้ำเติมสถานการณ์น้ำท่วมที่ย่ำแย่อยู่แล้วในเคนยา และเกิดขึ้นท่ามกลางการปฏิบัติภารกิจของสภากาชาดในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั่วกรุงไนโรบี เมืองหลวงโดยคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา สภากาชาดเคนยาได้เข้าช่วยเหลือผู้คนที่ติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมในเมืองหลวงได้มากกว่า 20 คน และนับตั้งแต่กลางเดือน มี.ค.ที่เริ่มปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ได้ช่วยเหลือผู้คนทั่วประเทศแล้ว 536 คน

เคนยาเผชิญกับน้ำท่วมตั้งแต่เดือนที่แล้ว ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 140 ราย และประชาชนอีกกว่า 185,000 คน ต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัย ส่วนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่นถนนหนทาง สะพาน ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ทางลอดที่สนามบินนานาชาติโจโม เคนยัตตาก็ถูกน้ำท่วมเช่นเดียวกัน แต่เที่ยวบินต่างๆยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ

นอกจากเคนยาแล้ว ประเทศแอฟริกาตะวันออกอื่นๆ อย่างแทนซาเนีย และสาธารณรัฐบุรุนดีก็เผชิญกับฝนตกหนักเช่นเดียวกันโดยตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาแทนซาเนียพบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 155 คนคำพูดจาก เว็บพนันออน

ส่วนในสาธารณรัฐบุรุนดีมีผู้พลัดถิ่นเกือบ 100,000 คน แต่ยังไม่ทราบตัวเลขผู้เสียชีวิตแน่ชัด

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า ในเมืองหลวงของสาธารณรัฐบุรุนดี หลังจากเผชิญกับฝนตกหนักเพียงวันเดียว มีผู้เสียชีวิต 68 คน และบ้านเรือนประชาชนเสียหาย 3,500 หลัง

ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศจากบีบีซีระบุว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้แอฟริกาตะวันออกเผชิญฝนตกหนักที่สุด คือปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) หรือการเคลื่อนไหวไปมาสลับกันสองด้านฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก ของกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรอินเดีย

โดยปรากฏการณ์นี้มีช่วงที่เรียกว่า ขั้วบวก ขั้วลบ และเป็นกลาง ซึ่งทั้งหมดจะส่งผลกระทบกับภูมิอากาศของออสเตรเลีย อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่ตั้งอยู่โดยรอบมหาสมุทรอินเดีย เช่น เคนยา และแทนซาเนีย